การสื่อสาร (communications)
มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน
การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล
ความรู้ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น
ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน
สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งสาร หรือผู้เข้ารหัส (sender / encoder)
2.ผู้รับสาร หรือ ผู้ถอดรหัส (receiver /
decoder)
3.สาร (message)
4.ช่องทางการสื่อสาร (channel)
ผู้ส่งสาร (sender)คือ
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มหรือเริ่มต้นส่งสารไปให้อีกบุคคลหนึ่งจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ผู้รับสาร (encoder)คือ ผู้ที่รับสารจากบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง
เมื่อได้รับสารผู้รับสารจะเกิดการตีความและการตอบสนองจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
และส่งปฏิกิริยาตอบสนอง กลับไปให้ผู้ส่งสาร
สาร (message)หมายถึง สิ่งที่ผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารในรูปของรหัสคำว่า “รหัส” หมายถึง สัญญาณ หรือสัญลักษณ์
ที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะที่มีความหมายต่อคน
และผู้รับสารสามารถเข้าใจความหมายของมันได้ในที่นี้อาจเป็น คำพูด ตัวหนังสือ
รูปภาพ เครื่องหมาย หรือกิริยาท่าทางต่างๆ ฯลฯ
ช่องทางการสื่อสาร คือ
ตัวกลางที่ช่วยในการนำส่งสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ช่องทางเปรียบเหมือนทางหรือพาหะระหว่างผู้ร่วมสื่อสาร
ประเภทของการสื่อสาร
1. จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal
communication)
- การพูดกับตัวเอง
- การคิดคำนึงเรื่องต่างๆ
- การร้องเพลงฟังเอง
- การคิดถึงงานที่จะทำ
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal
communication)
- การพูดคุย
- การเขียนจดหมาย
- การโทรศัพท์
-การประชุมกลุ่มย่อย
- การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large
group communication)
- การอภิปรายในหอประชุม
- การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
- การปราศรัยในงานสังคม
- การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
- การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม
1.4 การสื่อสารในองค์กร (organizational
communication)
- การสื่อสารในบริษัท
- การสื่อสารในหน่วยงานราชการ
- การสื่อสารในโรงงาน
- การสื่อสารของธนาคาร
1.5 การสื่อสารมวลชน (mass
communication)
- วิทยุ
- โทรทัศน์
- ภาพยนตร์
2.การเห็นหน้ากัน
2.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (face
to face communication)
- การสนทนาต่อหน้า
-การประชุมสัมมนา
-การประชุมกลุ่มย่อย
- การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
- การเรียนการสอนในชั้นเรียน
2.2 การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า (interposed
communication)
- หนังสือพิมพ์-วิทยุ
-โทรทัศน์- วีดีทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
- อินเตอร์เน็ต- จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
3. ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว (one-way
communication)
- วิทยุ/โทรทัศน์/วีดีทัศน์
-โทรเลข/โทรสาร
- ภาพยนตร์
3.2 การสื่อสารสองทาง (two-way
communication)
- การสื่อสารระหว่างบุคคล
- การสื่อสารในกลุ่ม- การพูดคุย
/ การสนทนา
4. ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial
communication)
- ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
- คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural
communication)
- การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ
ภาคอื่น ๆ
-ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ (international
communication)
- การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
- การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล
5. การใช้ภาษา
5.1 การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal
communication)
- การพูด, การบรรยาย
- การเขียนจดหมาย, บทความ
5.2 การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal
communication)
- การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
- อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา,
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำดี
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง
มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
ความสำคัญของการสื่อสาร
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม
อุปสรรคในการสื่อสาร
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5 ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3 สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
3.2 การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3 การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.3 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4 ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น