ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก
สวัสดีค่ะผู้เยี่มชมทุกท่าน บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 /2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

หน่วยที่ 5

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่ (Gagne’s eclecticism)         
 กาเย่ (Gagne’s) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย่ จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนองกับทฤษฎีความรู้ มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
1.การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข
2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
4. การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน
5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ
7. การเรียนรู้กฎ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
กานเย่ได้เสนอระบบการสอน  9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (gaining attention) 
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ (informing the leaner of the objective) 
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(stimulating recall of prerequisite learned capabilites) 
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (presenting the stimulus)           
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning guidance) 
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ (elciting the performance) 
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) 
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (assessing the perfomance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) 
สรุป  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่  (Gagne’s eclecticism) เป็นการอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท   บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง ซึ่งกานเยได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น