ความหมายจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำคือPhycheแปลว่าวิญญาณกับ Logos แปลว่าการศึกษาตามรูปศัพท์จิตวิทยาจึงแปลว่าวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณแต่ในปัจจุบันนี้จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยนั่นคือจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร
อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จิตวิทยาการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard& Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
- คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
-ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard& Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
-คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา “
-พจนานุกรมของเวบสเตอร์ (Webster 's Third New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย
บลูม และคณะ (Bloom
and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
ดอลลาร์ด
และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive)
๒. สิ่งเร้า (Stimulus)
๓. การตอบสนอง (Response)
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)
ธรรมชาติของการเรียนรู้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis)
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis)
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis)
6. การประเมินค่า ( Evaluation)
การถ่ายโยงการเรียนรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้
๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer)
และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้นง่ายขึ้น
หรือดีขึ้น
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer) คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒
แบบ คือ
๑. แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)
๒. แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition
ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น
จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ คือ
๑. มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร
๒.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก
การปฏิบัติซ้ำๆ เท่านั้น
๓. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ
ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก
เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์
เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ
วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้
๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม"
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
๑.๑
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
๑.๒
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
๒.๑
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
๒.๒
ทฤษฎีสัมพันธ์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองพฤติกรรม
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.
ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี
รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
๒.
ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา
๓. ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง
และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจ
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
๑. กฎแห่งผล (Law of Effect) ๒. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
๓. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.
การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
๒.
ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน
๓.
ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว
๔.
ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี (Guthrie's Contiguity Theory)
เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบ่งย่อยได้ดังนี้
๑. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt's Theory)๒. ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field
Theory)
ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt's
Theory)
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์
(Gestalt
Psychology) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย
Max Wertheimer,
Wolfgang Kohlerและ Kurt Koftkaซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้(Perception
)การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา(Insight)
องค์ประกอบของการเรียนรู้ มี
๒ ส่วน คือ
๑. การรับรู้
(Perception) ๒. การหยั่งเห็น (Insight)
ทฤษฎีสนามของเลวิน (Lewin's Field Theory)
การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาเขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง
สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก ซึ่งเขาเรียกว่า Life space สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบLewinกำหนดว่า
สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์
จะมี ๒ ชนิด
คือ
๑. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical
environment)
๒. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological environment)
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ
ไปประยุกต์ใช้
๑.
ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
๒. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน
๓.
การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน
๔. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน
๕.
บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
๑. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
๒. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
๓. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
๔. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
๕. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
๖. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
๗. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
๘. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
๙. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี
ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น